นับถอยหลังอีก 5 เดือนเศษ แผนเปิดบริการรถไฟฟ้า “สายสีชมพู มีนบุรี-แคราย” ภายในกลางปี 2565 ก็ใกล้เข้ามาแล้ว เราพามาดูทำเลบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู แนวรถไฟฟ้า 30 สถานีสายสีชมพู มีตั้งแต่ตารางวาละ 1.5-3.2 แสนบาท ซึ่งเป็นที่จับตามองว่าสถานการณ์โอมิครอนในปีนี้ตลาดคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าฟื้นตัวหรือยัง
ส่องราคาที่ดินและสถานีรถไฟฟ้าที่น่าสนใจ ก่อนแผนเปิดบริการ กลางปี 65
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
ข้อมูลพื้นฐานรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี
ระบบรถไฟฟ้า:
รางเดี่ยวแบบวิ่งคร่อมคานทางวิ่ง (straddle-beam monorail)
จำนวนสถานีทั้งหมด:
30 สถานี
สถานีต้นทาง:
ศูนย์ราชการนนทบุรี (แยกแคราย)
สถานีปลายทาง:
สถานีมีนบุรี (แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี)
ระยะทางรวม:
4.5 กิโลเมตร
ความเร็ว:
ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
รองรับผู้โดยสารได้:
15,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทางในช่วงแรก (อนาคตสามารถเพิ่มเป็น 7 ตู้ต่อขบวน เพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง)
การขับเคลื่อน:
ขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุม
สำหรับตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA ระบุว่า มีการเพิ่มขึ้นของอย่างต่อเนื่อง แม้มีสถานการณ์โควิด แต่ตามแนวรถไฟฟ้าก็ปรับตัวแพงขึ้นไม่หยุดหย่อน ทั้งนี้ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้ไม่เท่ารถไฟฟ้าสายอื่น ๆ แต่ก็นับว่าปรับตัวไปมากพอสมควรโดยตลอดทั้งเส้นมีราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.7% สูงกว่าอัตราเฉลี่ย 4.7% ของที่เพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แสดงว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้สร้างศักยภาพขึ้นใหม่ให้กับ มาดูทำเลสถานีน่าสนใจในรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้จากข้อมูลของ AREA กัน
1. ช่วงสถานี “ศูนย์ราชการนนทบุรี”
เนื่องจากเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน-บางใหญ่ และเป็นแหล่งชุมชนที่มีทั้งหน่วยงานราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ทำให้ที่ดินบริเวณ “สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี” น่าสนใจและมีโครงการที่อยู่อาศัยเข้ามาพัฒนาไม่น้อย จึงดันราคาสูงเป็นพิเศษที่ 2.9 แสนบาท/ตารางวา
2. ช่วงสถานี “เมืองทองธานี-สถานีหลักสี่”
ช่วงสถานีเมืองทองฯ เองก็เป็นทำเลน่าสนใจ เพราะนอกจากจะมีส่วนราชการ และกิจกรรมเชิงพาณิชย์หนาแน่นไม่ว่าจะเป็นศูนย์ประชุม ออฟฟิศ โกดังต่างๆ โดยเฉพาะ “สถานีหลักสี่” ที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงผ่านสนามบินดอนเมือง ทำให้พื้นที่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อเนื่อง เพิ่มศักยภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวได้
3. ช่วงสถานี “ราชภัฏพระนคร-สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ”
ช่วงบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คาดว่ามีการเพิ่มขึ้นของ เนื่องจากมีศักยภาพในการเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บริเวณสถานีวัดพระศรีมหาราช ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้ก็เป็นสายที่วิ่งตรงเข้าเมือง ทำให้ที่ดินบริเวณนี้สะท้อนออกมาเป็นราคาตั้งแต่ 3-3.2 แสนบาท/ตารางวา
4. ช่วงสถานี “คู้บอน-สถานีรามอินทรา 83”
ช่วงสถานีคู้บอน เป็นอีกหนึ่งบริเวณชุมชนที่มีที่อยู่อาศัย โครงการบ้าน หมู่บ้าน รวมถึงแหล่งการค้าขาย โดยอยู่ที่ตารางวาละ 2.7 แสนบาท หรือเพิ่มขึ้น 15.0% รวมทั้งช่วงสถานีวงแหวนรามอินทรา บริเวณรามอินทรา 83 ที่มีราคาตารางวาละ 2 แสนบาท เพิ่มขึ้น 15.0% เช่นกัน
5. ช่วงสถานี “ตลาดมีนบุรี-มีนบุรี”
บริเวณตลาดมีนบุรี (ตลาดนัดจัตุจักร 2) นับเป็นแหล่งการค้าขาย ย่านชุมชนขนาดใหญ่ บริเวณนี้ ทำให้ที่ดินมีราคาเพิ่มเป็น 2.2 แสนบาท/ตารางวา และช่วงสถานีปลายทางที่สถานีมีนบุรี บริเวณซอยรามคำแหง 192 ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีนั่นเองก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
การลงทุนมีความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีความเป็นไปได้ที่จะมีคนใช้บริการไม่มาก เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าสายชานเมืองรอบนอก ที่ไม่ได้วิ่งเข้าเมืองโดยตรง อาจเกิดเป็นเหตุการณ์เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ ดังนั้น ราคาที่ดินที่เคยขึ้นสูงมากในขณะนี้ ในอนาคตอาจจะหยุดนิ่งหรือมีการเปลี่ยนแปลงราคาน้อยลงก็เป็นได้ดังนั้น ผู้ที่ลงทุนซื้อที่ดิน ห้องชุด อาจต้องศึกษาทำเลแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้ดี หากไม่ได้กำไรตามที่คาดหวัง โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อห้องชุดเพื่อการเก็งกำไรตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู อาจได้รับมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่มาก หรือปล่อยเช่าไม่ได้ราคาเท่าที่ควร “ก่อนลงทุนซื้อห้องชุดหรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูควรดูให้ดีก่อน ถ้าราคายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ควรลงทุน กรณีมีการซื้อไปแล้วแต่ราคาไม่ขึ้นก็ไม่ควรลงทุน”
HONG Tower
ให้เช่า โกดัง พื้นที่ อาคาร
ใกล้ถนนพระราม 2
ใกล้ทางด่วน ดาวคะนอง , บางนา-ตราด
ขึ้นลงทางด่วนได้ 2 ทาง